บทความน่าสนใจ
05 มีนาคม 2567

คิดการใหญ่กับโครงการ “เเลนด์บริดจ์”

Graphics by Bangkok Post

ด้วยความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยที่จะขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงแบบบูรณาการระหว่างโครงข่ายการขนส่งทางบก ทางราง ทางน้ํา และทางอากาศ รวมถึงส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน รัฐบาลจึงได้เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคมขนส่ง โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงต่อเนื่องหลายรูปแบบ

ก่อให้เกิดการบูรณาการรูปแบบการขนส่งเชื่อมโยงโครงข่ายอย่างไร้รอยต่อ อย่างโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลอ่าวไทย-อันดามัน หรือ Land Bridge ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคม ระหว่าง 2 ท่าเรือคือ ท่าเรือชุมพรและท่าเรือระนอง ให้เชื่อมต่อถึงกันอย่างไร้รอยต่อ ส่งเสริมการขนส่งทางน้ำให้มีความทันสมัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับนานาประเทศ

อีกทั้งโครงการ Land Bridge ยังช่วยรองรับความต้องด้านการขนส่งที่เพิ่มขึ้นระหว่าง The Pacific Ocean และ the Indian Ocean ซึ่งปัจจุบันมีช่องแคบมะละกาเป็นทางเชื่อมหลักการในขนส่ง ให้บริการเรือ 100,000 ลําต่อปีโดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 400,000 ลําในอีก 30 ปีข้างหน้า ทําให้การจราจรติดขัดและการขนส่งล่าช้า ดังนั้น Land Bridge จึงเป็นอีกโครงการทางเลือกที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการค้าทางทะเลของไทย เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ทางยุทธศาสตร์ใจกลางคาบสมุทรอินโดจีน

ประโยชน์ของโครงการ Land Bridge

จากการเป็นประทเศที่มีเขตเศรษฐกิจเสรี ประโยชน์ของโครงการ Land Bridge ที่เกิดภายในประเทศ คือการดึงดูดนักลงทุนให้ขยายการลงทุนโดยรอบท่าเรือระนองและชุมพร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจภาคใต้ กลยุทธ์การพัฒนาโครงการ Land Bridge แบ่งออกเป็น 4 กลยุทธ์ ประการแรก ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่ง และการกระจายสินค้าโลจิสติกส์ ประการที่สอง ส่งเสริมและอํานวยความสะดวกในธุรกิจการเดินเรือหรือธุรกิจที่เกี่ยวขอ้ง เช่น บริการบังเกอร์ การบํารุงรักษา และการประกันภัย ประการที่สาม การพัฒนาอุตสาหกรรมท่าเรือและคลัสเตอร์อุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งรวมถึงนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมของประเทศไทยและอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสําหรับ Land Bridge ประการสุดท้าย คือการส่งเสริมการลงทุนและสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเกี่ยวกับผลประโยชน์ในประเทศไทยและต่างประเทศ

ประโยชน์ของโครงการ Land Bridge ระดับนานาชาติ 1. การขนส่งระหว่างประเทศผ่าน Land Bridge เป็นทางลัดสําหรับการขนส่งระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก รวมถึงเป็นตัวเลือกสำหรับการถ่ายลําในระดับภูมิภาค 2. Maritime Trade Gateway ส่งเสริมการเชื่อมต่อ BIMSTEC และ EEC 3. โครงการพัฒนาทางรถไฟไทย-จีนจะเป็นประตูการค้าทางทะเลสําหรับจีนตอนใต้

ความคืบหน้าในการระดมทุน

ประเทศไทยกําลังพยายามเร่งการระดมลงทุนสําหรับ “Land Bridge” โครงการได้ถูกนำเสนอในที่ประชุมในกรุงปักกิ่งแล้วโดยนายกรัฐมนตรีไทยเศรษฐา ทวีสิน นำเสนอให้เห็นถึงประโยชน์ของการเชื่อมต่อเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ระหว่าง ท่าเรือทั้งสองฝั่งของเส้นทาง Land Bridge ภายใต้แผนการขนส่งทางถนนและรถไฟความเร็วสูงจะตัดผ่านภาคใต้ของประเทศไทยจากจังหวัดชุมพลในอ่าวไทยไปยังระนองในมหาสมุทรอินเดียเพื่อบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ต่อขึ้นเรือที่รออยู่

สำหรับจีนมี "สองเหตุผลที่จีนจะลงทุน" "ประการแรก ผลประโยชน์ทางการเงิน ประการที่สอง ภูมิรัฐศาสตร์ หากพูดในด้านการเงินจีนมองว่าโครงการนี้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่ในแง่ภูมิรัฐศาสตร์อาจเป็นเรื่องที่น่าสนใจเนื่องจากจีนจะสามารถควบคุมทะเลทั้งสองฝั่งได้ ที่สําคัญ Land Bridge อาจทําให้จีนมีเส้นทางอื่นสําหรับการขนส่งสินค้า หากเรือของตนไม่สามารถใช้ช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นช่องทางเดินเรือผ่านน่านน้ำสิงคโปร์, มาเลเซียและอินโดนีเซีย เนื่องจากความขัดแย้งหรือความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งน่าจะเป็นกับสหรัฐอเมริกา

อีกทั้งประเทศไทยยังเปิดกว้างสําหรับความสนใจจากนักลงทุนทุกราย รวมถึงผู้ที่พึ่งพาน้ำมันในตะวันออกกลาง ซึ่งขณะนี้ขนส่งผ่านช่องแคบมะละกาไปถึงจีนและเอเชียตะวันออก

อุปสรรคใหญ่ที่รอการจัดการ

เส้นทางสู่ความสำเร็จไม่ง่ายแน่นอนสำหรับ Mega Project อย่าง Land Bridge ยังต้องฟันฝ่าอุปสรรคใหญ่ คือกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยที่มองว่า โครงการส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ นอกจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตแล้ว นักวิชาการบางส่วนยังมองว่าโครงการไม่คุ้มค่ากับการลงทุนที่ต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท รวมถึงไม่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ แม้โครงการ Land Bridge จะเป็นการเชื่อมท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย ในจังหวัดชุมพร เเละ ท่าเรือนํ้าลึกฝั่งอันดามัน จังหวัดระนอง โดยมีเส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 2 เเห่ง ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร ได้แก่ ทางหลวงพิเศษขนาด 6 ช่องจราจร ทางรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 2 ทาง เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์คล้ายกับ “คลองไทย” ที่ต้องการเชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน เพื่อลดระยะเวลาการขนส่งสินค้า โดยผลการศึกษาพบว่า หากโครงการนี้แล้วเสร็จจะลดเวลาการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศที่มีเส้นทางจากจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เวียดนาม ผ่านอ่าวไทยไปอันดามัน เข้าสู่เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป ได้ประมาณ 2 วันครึ่ง เมื่อเทียบกับการขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งไม่ได้เป็นผลประโยชน์ที่มากพอเมื่อเทียบกับการลงทุน

หากมองในแง่เศรษฐกิจโครงการนี้อาจมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน แต่การทำประชาพิจารณ์ประชาชนในพื้นที่และผู้ประกอบการก็ยังกังวลเรื่องผลกระทบต่อธรรมชาติ กระนั้นก็ตามเเลนด์บริดจ์เป็นโครงการที่ปักธงมาตั้งแต่ 20 ปีก่อน แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่สามารถเดินหน้าก่อสร้างได้สักที ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา การปัดฝุ่นครั้งนี้จะสัมฤทธิ์ผลได้จริงหรือไม่ ต้องตามดูกันต่อไป

CRL Import Team