ข่าวสารและบทความ
การเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งด้วยระบบการจัดการขนส่ง (Transport Management System - TMS)
ทำความรู้จักกับระบบ TMS:
ระบบการจัดการขนส่ง (Transport Management System - TMS) เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ ซึ่งมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการขนส่งสินค้าอย่างเป็นระบบ ด้วยความสามารถในการวางแผนเส้นทาง การรวมการขนส่ง และการติดตามสินค้าแบบเรียลไทม์ TMS ช่วยให้การจัดการโลจิสติกส์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุน
หลักการทำงานพื้นฐานของระบบ TMS:
TMS ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวางแผนเส้นทางการขนส่ง การจัดสรรพื้นที่บรรทุก การเลือกผู้ให้บริการ และการติดตามสินค้า โดยการทำงานร่วมกับระบบอื่นๆ ของซัพพลายเชน เช่น ERP และ WMS เพื่อให้การบริหารการขนส่งเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ข้อดีและข้อเสียของการใช้ระบบการจัดการขนส่ง (TMS)
ข้อดี:
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน: ระบบ TMS เพิ่มการทำงานอย่างอัตโนมัติ ช่วยปรับปรุงกระบวนการโลจิสติกส์ ลดการดำเนินงานด้วยคน ลดเวลาทำงานที่ซ้ำซากและไม่เพิ่มมูลค่า
- ช่วยให้การตัดสินใจรวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น: ข้อมูลเรียลไทม์ช่วยผู้ดำเนินการโลจิสติกส์สามารถติดตามสินค้าและบริหารความเสี่ยง ช่วยให้การตัดสินใจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามสถานการณ์
- ประหยัดต้นทุนการขนส่ง: การวางแผนเส้นทางและการรวมสินค้าในการขนส่งช่วยลดต้นทุนการขนส่งและการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย:
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูง: การลงทุนเริ่มต้นสูงอาจมีการจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่สูง
- มีความซับซ้อนในการดำเนินงาน: การเชื่อมระบบ TMS กับระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันของบริษัทอาจเกิดปัญหาทางเทคนิคและต้องการการวางแผนและดำเนินการอย่างรอบคอบ
- การบริหารการเปลี่ยนแปลง: การปรับตัวกับกระบวนการและเทคโนโลยีใหม่อาจมีต้นทุนในการฝึกอบรมและเผชิญความต่อต้านจากทีมงานในปัจจุบัน จึงต้องมีการวางแผนการอบรมและมีกลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ
- การบำรุงรักษาต่อเนื่อง: การดูแลรักษาเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา เนื่องจาก TMS ต้องมีการอัปเดตและการสนับสนุนเพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา นอกจากนี้ยังต้องมีการแก้ไขปัญหาและการอัปเกรดระบบเมื่อจำเป็น
ต้นทุนในการมีระบบ TMS และปัจจัยที่มีผลกระทบ:
ต้นทุนในการใช้งาน TMS ประกอบด้วยต้นทุนหลายส่วน เช่น ค่าฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ค่าบริการด้านการดำเนินการ ค่าจัดการอบรม และการบำรุงรักษาระบบประจำปี ผู้ประกอบการต้องประเมินปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ขนาดขององค์กร, ความสามารถในการปรับปรุงและพัฒนาระบบให้รองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต, ความต้องการใช้งานระบบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแบบพื้นฐานและแบบที่จำเป็นต้องปรับแต่งเพิ่มเติม เพื่อควบคุมต้นทุนรวมทั้งหมดของการใช้ระบบ TMS
การประยุกต์ใช้ TMS ในธุรกิจอุตสาหกรรม:
บริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำของโลกหลายแห่ง เช่น DHL Express, FedEx, Amazon, และ Walmart ได้นำระบบ TMS มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการขนส่ง เพื่อประโยชน์ด้านการประหยัดค่าใช้จ่าย การเพิ่มประสิทธิภาพ และบริการลูกค้าที่ดีขึ้น
สำหรับในประเทศไทยเองก็มีบริษัทชั้นนำที่ได้ใช้ระบบ TMS อาทิเช่น บริษัท DHL Express (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท Kerry Express (Thailand) Limited, บริษัท ไปรษณีย์ไทย, บริษัท SCG Logistics Management Company Limited รวมถึง CRL Transport ก็ได้พัฒนาระบบ TMS เพื่อใช้ในการบริหารจัดการขนส่งแก่ลูกค้าทั้ง B2B และ B2C เช่นกัน
โดยสรุป TMS เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการขนส่งที่สำคัญในปัจจุบัน ธุรกิจสามารถปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ตัดสินใจโดยเชิงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ส่งผลให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในเวทีโลกและตลาดภายในประเทศด้วยระบบสารสนเทศได้อย่างยั่งยืน