ข่าวสารและบทความ
ทำความรู้จักกับ "มาตรการส่งดี" (Dee-Delivery)
มาตรการส่งดี (Dee-Delivery) คืออะไร?
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกประกาศเรื่องให้ธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าที่มีการเรียกเก็บเงินปลายทาง (COD: Cash-On-Delivery) เป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2567 หรือเรียกมาตรการนี้ว่า "มาตรการส่งดี (Dee – Delivery)" ซึ่งจะช่วยคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องการสั่งซื้อสินค้าและไม่ได้สินค้าตามที่ต้องการ หรือ ไม่ได้สั่งซื้อสินค้าและมีการเรียกเก็บค่าสินค้ามา สามารถตรวจสอบสินค้าก่อนการจ่ายค่าสินค้าได้
Dee-Delivery เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 3 ตุลาคม 2567 กำหนดให้ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่เรียกเก็บเงินปลายทางจากผู้บริโภค ต้องระบุรายละเอียดในหลักฐานการรับเงิน เช่น ชื่อ-สกุล และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ส่งสินค้า หมายเลขติดตามพัสดุ ข้อมูลพัสดุ จำนวนเงินที่เรียกเก็บปลายทาง รวมถึงให้สิทธิผู้บริโภคปฏิเสธไม่รับสินค้า หรือมีสิทธิได้รับค่าสินค้าคืน โดยให้ผู้ให้บริการขนส่งถือเงินไว้ก่อนเป็นเวลา 5 วัน ก่อนนำส่งเงินให้กับผู้ขายหรือร้านค้า เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสแจ้งเหตุที่ขอคืนสินค้าและขอเงินคืนได้
ประโยชน์และข้อพิจารณาสำหรับผู้บริโภค ร้านค้าผู้ขาย และผู้ให้บริการขนส่งสินค้า
โดยสรุป
มาตรการส่งดี หรือ Dee-Delivery เป็นกฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภคในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ จากเดิมที่การซื้อสินค้าแบบเก็บปลายทางแล้วพบปัญหาไม่มีกฎหมายรองรับสิทธิ์ให้กับผู้บริโภค เปลี่ยนเป็นมีกฎหมายใหม่ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการขนส่งมาช่วยยืดระยะการส่งคืนค่าสินค้าที่เก็บเงินปลายทางเอาไว้ก่อน หากกรณีพบว่าสินค้ามีปัญหาก็คืนเงินผู้บริโภคได้รวดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ก็ยังมีข้อพิจารณาในหลายๆด้านกับทางร้านค้าออนไลน์ผู้ขายสินค้า ผู้ให้บริการขนส่ง หรือแม้แต่ผู้บริโภคเอง ที่ต้องศึกษาและปรับกระบวนการทางธุรกิจให้สอดคล้องเพิ่มเติม
ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เวปไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) https://www.ocpb.go.th/news_view.php?nid=15465 หรือ ติดต่อที่ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์มาตรฐานส่งดี โทร.1166